Blogs & Articles

ตั้งราคาขายอย่างไร ? ให้โดนใจลูกค้า

เชื่อว่าเจ้าของกิจการ และนักการตลาดหลายคนต้องเคยผ่านประสบการณ์ขั้นตอนของการตั้งราคาสินค้ามาบ้างแล้ว และอาจเกิดคำถามขึ้นมาได้ว่า “ควรตั้งราคาขายเท่าไหร่ดี?” 


ทราบไหมคะว่า “การตั้งราคา” ไม่ใช่แค่การกำหนดจำนวนรายได้ของแบรนด์เมื่อหักลบกับต้นทุนเพียงเท่านั้น แต่เบื้องหลังของการตั้งราคาควรมีกลยุทธ์ที่เฉียบคมอย่างหนึ่งซึ่งก็คือ การรู้วิธีตั้งราคาที่โดนใจ และดึงดูดลูกค้าให้อยากมาซื้อสินค้าบริการมากยิ่งขึ้น


บทความในวันนี้จะเล่าถึงตัวอย่างการค้นหาราคาที่ลูกค้าสนใจมาใช้เป็นไอเดียตั้งราคาสินค้าบริการให้ตอบโจทย์ยิ่งขึ้นผ่านการใช้เครื่องมือ Mandala Analytics กันค่ะ  




Mandala Analytics จะช่วยค้นหาราคาที่คนสนใจได้อย่างไร?

การทำงานของเครื่องมือจะคล้ายกับการใช้ Search Engine คือ การใส่คำค้นหา (Keyword) ที่ต้องการอยากรู้แล้วให้ระบบเก็บข้อมูลที่ประกอบด้วยคำคำนั้นบนโซเชียลมีเดีย แต่จะเพิ่มเรื่องการเลือกช่วงเวลาเก็บข้อมูลด้วย


ในหน้าแดชบอร์ดของ Mandala Analytics จะแสดงผลจำนวนข้อมูลที่พูดถึงคำค้นหา รวมถึงค่าการมีส่วนร่วมกับโพสต์ (ไลก์ อีโมจิ แชร์ คอมเมนต์ ยอดวิว รีทวีต) และยังช่วยวิเคราะห์ความรู้สึกด้านบวกหรือลบ, ภาษาที่ใช้, เวลาที่คนเข้าไปมีส่วนร่วมกับโพสต์ เป็นต้น 


การที่เครื่องมือช่วยวิเคราะห์โพสต์ให้แบบอัตโนมัติก็จะทำให้แบรนด์ได้ข้อมูลหลายอย่างมาพัฒนากลยุทธ์การตลาด เช่น ลักษณะของลูกค้า (เพศ, ถิ่นที่อยู่, ความสนใจ, พฤติกรรม), ข้อมูลเชิงลึก (ผลตอบรับ, ความคิด, ความต้องการ, ปัญหาที่เกิดขึ้น) หรือคอนเทนต์ที่คนสนใจ (การนำเสนอ, Mood & Tone, การใช้คำพูด, โปรโมชัน-ราคา) เป็นต้น   


นี่เลยเป็นเหตุผลว่าทำไม แบรนด์ถึงควรลองใช้เครื่องมือมาช่วยค้นหาราคาที่ลูกค้ามีความสนใจ แล้วนำมาใช้เป็นไอเดียตั้งราคาสินค้าบริการให้ตอบโจทย์มากกว่าเดิมค่ะ


ทำความรู้จักเครื่องมือมากขึ้น:


ไอเดียการตั้งราคาขายให้โดนใจลูกค้า

อย่างที่ได้พูดไปข้างต้นแล้วว่า “ราคาถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการที่ลูกค้าจะตัดสินใจซื้อสินค้าบริการ”


ตัวอย่างการตั้งราคาของร้านบุฟเฟต์ต่าง ๆ 


ดังนั้น เรามาลองตั้งคำถามผ่านตัวอย่างบุฟเฟต์กันดูสิว่า… 

  • ร้านบุฟเฟต์ปิ้งย่างส่วนใหญ่บนโซเชียลเขาตั้งราคากันที่เท่าไหร่ 
  • ช่วงราคาไหนที่ลูกค้าสนใจ ราคาไหนได้รับความนิยมมากที่สุด 
  • โปรโมชันแบบไหนที่โดนใจลูกค้า


สร้างแคมเปญบน Mandala Analytics โดยการใส่คำค้นหาและระยะเวลาที่ต้องการ รวมถึงเปลี่ยนข้อมูลเป็นประเภทการมีส่วนร่วมกับโพสต์ (Engagement) เพื่อดูว่าคนให้ความสนใจกับโพสต์ไหนมากที่สุด


เริ่มสร้างแคมเปญโดยใช้คำค้นหาว่า “บุฟเฟ่ต์+ปิ้งย่าง” และเลือกระยะเวลาที่ต้องการข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 25 มี.ค. 2022 เมื่อระบบได้ทำการเก็บข้อมูลเรียบร้อยแล้วให้เลือกประเภทของข้อมูลตรง Data Aspect เป็นการมีส่วนร่วม (Engagement) เพราะเราต้องการดูข้อมูลที่คนสนใจจนเข้ามากดไลก์, กดอีโมจิ, แชร์หรือคอมเมนต์กับโพสต์สูงนั่นเอง

(อย่าลืมดูวิธีสร้าง Campaign สำหรับผู้ใช้งานใหม่อย่างละเอียด)


สร้าง Tag ติดประเภทข้อมูลเพื่อแยกและเปรียบเทียบว่าโพสต์จำนวนเท่าไหร่ที่พูดถึงราคา 399, 599 และ 799 บ้าง


เมื่อพูดถึงราคาบุฟเฟต์ ทุกคนคงจะเคยเห็นราคาทั้ง 399, 599 และ 799 บาท ใช่ไหมคะ ขั้นตอนต่อไปเราจะลองเปรียบเทียบดูว่าราคาช่วงไหนกันนะที่คนเขาสนใจจนเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุดจากการติด Tag 


ให้กำหนดชื่อของ Tag ตามราคาแล้วแยกประเภทของข้อมูลที่อยู่ในแคมเปญ โดยพิมพ์ตามชื่อตัวเลข เช่น 399 ลงไปในแถบคำค้นหาของช่อง Mention Console จากนั้นก็กดเซฟข้อมูลทั้งหมดตรง Save As Tag ได้เลยค่ะ ข้อมูลเหล่านั้นที่มีคำว่า “399” ก็จะถูกติด Tag เอาไว้ทั้งหมด แล้วเวลาที่เราอยากจะเรียกดูข้อมูลก็สามารถกดเลือกตามชื่อ Tag ได้เลยดังในภาพข้างบน

(อ่านวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Tag อย่างละเอียดให้เข้าใจมากขึ้น)


เปรียบเทียบจำนวนข้อมูลของแต่ละ Tag ได้ในฟังก์ชัน Tag Management


สำหรับการเปรียบเทียบจำนวนข้อมูลเพื่อว่าสรุปแบรนด์นิยมกำหนดช่วงราคาไหนมากที่สุด ให้กดเข้าไปในส่วนของ Tag Management แล้วจำนวนของข้อความหรือโพสต์ทั้งหมดตาม Tag ก็จะแสดงออกมาให้ดูได้ดังในภาพ


ซึ่งการติด Tag ก็จะทำให้แบรนด์ได้เห็นว่ามีการพูดถึงราคา 399 มากที่สุดจำนวน 142 ข้อความ แสดงให้เห็นว่าร้านบุฟเฟต์ปิ้งย่างมักใช้ราคานี้ในการโปรโมทนั่นเอง 


เลือก Filter Tag เฉพาะราคา 399 และเปลี่ยนประเภทของข้อมูลเป็นจำนวนการพูดถึง (Mention) เพื่อดูราคานี้ถูกพูดถึงในช่องทางโซเชียลไหนมากที่สุด 


หลังจากนั้นอย่าลืมกดเลือกเฉพาะราคานี้ใน Filter Tag แล้วเปลี่ยนประเภทของข้อมูลเป็น Mention บนแดชบอร์ด เพื่อเจาะลึกลงไปอีกว่าในแต่ละแพลตฟอร์มมีการพูดถึงเท่าไหร่จากจำนวนรวมทั้งหมด รวมถึงยังสามารถเปลี่ยนข้อมูลเป็นแบบ Engagement เพื่อดูจำนวนการมีส่วนร่วมเปรียบเทียบกันไปด้วย เพราะพฤติกรรมของคนในแต่ละแพลตฟอร์มนั้นก็ไม่เหมือนกัน 


ดูโพสต์ที่ได้รับความสนใจมากที่สุดตามช่องทางโซเชียลต่าง ๆ ได้ที่ฟังก์ชัน Top Mention


ถ้าอยากรู้ว่าโพสต์ไหนได้รับความสนใจจากกลุ่มลูกค้ามากที่สุดให้กดเข้ามาตรงฟังก์ชัน Top Mention และจะเห็นได้เลยว่าในช่อง Facebook โพสต์ที่ได้รับการมีส่วนร่วมสูงที่สุด คือ ร้าน Tenjo Sushi & Yakiniku Premium Buffet ที่มีการชวนกินเนื้อต้อนรับปีเสือที่ราคา 599++ บาท


ตัวอย่างการทำโพสต์โปรโมทบุฟเฟต์จากร้าน Sukishi


ฟังก์ชันนี้มีประโยชน์มากกับการนำไปพัฒนาคอนเทนต์โปรโมทของแบรนด์ เพราะมันทำให้เห็นถึงการตั้งราคา การทำโปรโมชัน การใช้คำในการโฆษณาปิดการขาย รวมถึงรูปภาพประกอบยังไงให้คนเข้ามาสนใจโพสต์เยอะ แถมยังใช้ดูได้อีกว่าคู่แข่งของแบรนด์กำลังทำโปรโมชันอะไรอยู่ แล้วโพสต์ของเขาได้รับความสนใจมากหรือน้อยแค่ไหน แบรนด์จะได้นำมาปรับใช้กับการพัฒนากลยุทธ์แข่งขันกับคู่แข่งได้ทันท่วงทีนั่นเอง


สรุป


การใช้ Mandala Analytics จะเป็นตัวช่วยส่งเสริมให้แบรนด์สามารถค้นหาราคาที่กลุ่มลูกค้าให้ความสนใจได้อย่างง่ายดาย โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาไปกับการนั่งคิดนั่งกังวลว่าจะตั้งราคาอย่างไรดี แถมยังได้รับไอเดียทำคอนเทนต์โปรโมทการขายให้ตรงความสนใจของผู้บริโภคมากขึ้นในแพลตฟอร์มโซเชียลต่าง ๆ 


อย่าพลาด! การเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกไปใช้วิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภคให้ตอบโจทย์ยิ่งขึ้น 

ทดลองใช้งาน Mandala Analytics ได้ฟรี 7 วัน 

หรือสมัครเพื่อใช้งานเต็มรูปแบบได้ที่ plans

หากมีข้อสงสัยอื่น ๆ เพิ่มเติมสามารถติดต่อทีมขายของเราได้ทาง [email protected] 

ยังมีคลิปอื่น ๆ ที่น่าสนใจรอคุณอยู่ อย่าลืมเข้าไปดูเพิ่มเติมได้ที่ Mandala Academy


บทความอื่น ๆ ที่ไม่ควรพลาด:


Mandala Team

Creator

Share this post

Search the blog

Mandala Newsletter

Sign-up to receive the latest insights in to online trends