Blogs & Articles

เทคนิคสร้างยอดขายจากคอนเทนต์ติดเทรนด์

สร้างยอดขายจากคอนเทนต์ติดเทรนด์

ทราบไหมคะว่า “เทรนด์ (Trends) หรือกระแส” ที่กำลังเป็นที่นิยมบนโซเชียลมีเดียคือโอกาสสำคัญให้แบรนด์สามารถทำคอนเทนต์ออกมาอย่างสร้างสรรค์ และสามารถสร้างยอดขายได้จริง บทความในวันนี้จะชวนทุกคนมาดูตัวอย่างว่าถ้าอยากขายของได้ เราจะมีเทคนิคทำคอนเทนต์ออกมาได้อย่างไรจากตัวอย่างบนโซเชียลกันค่ะ


เทรนด์ คืออะไร?

เทรนด์เป็นเรื่องที่คนกำลังให้ความสนใจ และพูดถึงอยู่เป็นจำนวนมากจนติดอันดับ

เทรนด์สามารถเป็นได้หลายประเภทไม่ว่าจะเป็น

  • เทรนด์บนโซเชียล เช่น Twitter Trend, TikTok Trend
  • เทรนด์การค้นหา เช่น Google Search Engine, Google Trends
  • เทรนด์บนสตรีมมิ่ง เช่น Netflix, Spotify


เนื้อหาของบทความที่จะช่วยให้นักการตลาดหรือเจ้าของธุรกิจสามารถฉวยโอกาสสร้างยอดขายจากคอนเทนต์ติดเทรนด์:

ประโยชน์ของการทำคอนเทนต์ติดเทรนด์

ตัวอย่างของคอนเทนต์ติดเทรนด์

เทคนิคการเลือกใช้เทรนด์ทำคอนเทนต์ให้ปัง

ข้อควรระวัง! ถ้าไม่อยากเกิดดราม่า


ประโยชน์ของการทำคอนเทนต์ติดเทรนด์


การทำคอนเทนต์ติดเทรนด์ไม่ได้เป็นแค่การเล่นกับกระแสที่คนกำลังสนใจเท่านั้น เพราะถ้าเรารู้จักใช้ประโยชน์จากสิ่งที่คนกำลังสนใจ เราก็จะได้อะไรหลายอย่างที่เป็นประโยชน์ให้กับธุรกิจกลับมาค่ะ ตัวอย่างเช่น


1. ดึงดูดความสนใจ

ความหมายของเทรนด์ก็ชัดเจนในตัวเองอยู่แล้วว่าเป็นเรื่องที่กำลังเป็นกระแส ได้รับการพูดถึงสูง ดังนั้นเลยไม่แปลกที่คอนเทนต์ติดเทรนด์จะสามารถดึงดูดความสนใจของคนบนโลกออนไลน์ให้เข้ามาสนใจได้ค่ะ


2. ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมกับโพสต์

ยิ่งสามารถดึงดูดความสนใจของคนได้สูง ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสให้คนเข้ามามีส่วนร่วมกับโพสต์ไม่ว่าจะเป็น กดไลก์ อีโมจิ แชร์ คอมเมนต์หรือดูวิดีโอสูงตามไปด้วยเช่นเดียวกัน


3. กลายเป็นกระแสไวรัล

เมื่อโพสต์ได้รับความสนใจจากคนจำนวนมาก ถูกพูดถึง ถูกแชร์ออกไปบนโซเชียลมีเดีย คอนเทนต์นั้นอาจกลายเป็นกระแสไวรัลที่ทำให้คนรู้จักเพียงชั่วข้ามคืนเลยก็เป็นไปได้


4. ช่วยให้เพจเติบโตอย่างรวดเร็ว

คอนเทนต์ฮิตติดเทรนด์จะทำให้เพจของธุรกิจได้รับการติดตามมากขึ้นจากการค้นพบผ่านแฮชแท็ก, การแชร์ และถูกแท็กจากเพื่อนบนหน้าฟีด หรือโพสต์นั้นได้รับการมีส่วนร่วมสูงจนถูกแนะนำให้คนที่มีความสนใจคล้ายกันขึ้นมา เป็นต้น


5. สร้างยอดขายให้แบรนด์

สร้างโอกาสในการเสนอขายสินค้าบริการจากคอนเทนต์ติดเทรนด์ที่แบรนด์ทำ และเพิ่มโอกาสในการปิดการขายให้มากขึ้น


6. ได้ข้อมูลเชิงลึก (Insight)

ได้รู้ข้อมูลเชิงลึกของกลุ่มเป้าหมาย-ลูกค้าทั้งความชอบ ไม่ชอบ ปัญหา ความต้องการ สิ่งที่อยากให้ปรุบปรุง หรืออยากให้พัฒนาขึ้นมาในอนาคต


ตัวอย่างของคอนเทนต์ติดเทรนด์

ในส่วนนี้เราจะมาดูตัวอย่างของคอนเทนต์ที่นำกระแสมาเล่น แล้วเกิดประโยชน์ขึ้นกับธุรกิจ สำหรับเป็นไอเดียให้กับแบรนด์อื่น ๆ นำมาใช้เล่นกับเทรนด์ในอนาคตค่ะ


มาเริ่มกันที่เทรนด์ที่กำลังดังบนโซเชียลกันเลย ซึ่งก็คือ “จุดแข็ง จุดอ่อน”

เทรนด์นี้ได้รับความนิยมมาก ๆ เพราะเป็นการแชร์ถึงจุดแข็ง-จุดอ่อนของตัวเองที่คิดได้ออกมา

พอเป็นเทรนด์ที่เป็นลักษณะปลายเปิดจะพูดอะไรก็ได้แบบนี้ คนเลยชอบที่จะมาโพสต์เกี่ยวกับเรื่องตัวเอง คนรู้จัก ที่บ้าน ที่ทำงาน หรือเล่นมุกตลกกันเป็นจำนวนมากค่ะ 


การรวบรวมข้อมูลของเทรนด์นี้จากโซเชียลมีเดีย ทำโดยใช้เครื่องมือ Social Listening and Analytics ชื่อว่า “Mandala Analytics


จำนวนการพูดถึง (Mention) บนโซเชียลมีเดียช่องทางต่าง ๆ เรื่องจุดแข็ง-จุดอ่อน โดยใช้คำค้นหา (keyword) ว่า “จุดแข็ง+จุดอ่อน”, “จุดแข็ง จุดอ่อน” และ“#จุดแข็งจุดอ่อน” ในช่วงเวลาวันที่ 01 ม.ค. - 20 มี.ค. 2022 บนหน้า Dashboard ของระบบ Mandala Analytics

โพสต์ที่พูดถึงเทรนด์จุดแข็งจุดอ่อนบนช่องทาง Facebook เรียงตามจำนวนการมีส่วนร่วมกับโพสต์ (Engagement) จากมากไปน้อย เช่น กดไลก์, อีโมจิ, แชร์หรือคอมเมนต์ เป็นต้น


เครื่องมือจะรวบรวมโพสต์ที่เป็นสาธารณะบนโซเชียลมาให้ค่ะ แล้วเราก็จะได้มาศึกษาว่าโพสต์เหล่านี้เขานำเทรนด์มาเล่นยังไงให้ได้ประโยชน์กลับมากันค่ะ


1.1 ให้คนเข้ามามีส่วนร่วม

เทรนด์จุดแข็ง-จุดอ่อนจาก Lazada


โพสต์นี้สามารถเอาความจริงที่หลายคนเป็นมาเล่า ทำให้คอนเทนต์โดนใจคนที่เป็นคนชอบซื้อของออนไลน์ประจำ หรือแชร์ไปให้คนรู้จักที่เป็นแบบนี้ ส่งผลให้เกิดการพูดคุยระหว่างเพจกับผู้ติดตาม และยอดการมีส่วนร่วมกับโพสต์นี้จำนวนมากค่ะ 

คอมเมนต์จากคนบนโซเชียลใต้โพสต์ Lazada


1.2 ได้ข้อมูลเชิงลึก (Insight)

ทรนด์จุดแข็ง-จุดอ่อนจาก 7-Eleven


จากตัวอย่างนี้ แบรนด์เองเข้าใจว่าจุดแข็งจุดอ่อนของสินค้าบริการตัวเองเป็นแบบหนึ่ง แต่ผู้บริโภคกลับให้ข้อมูล และแสดงความคิดเห็นอีกแบบหนึ่ง เช่น ข้าวกล่องมีรสชาติเค็ม แบรนด์ก็สามารถนำข้อมูลเชิงลึกที่มาจากผู้บริโภคโดยตรงมาปรับปรุง พัฒนาสินค้าบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการวางแผนสำหรับการออกสินค้าใหม่ และโปรโมทใหม่เพื่อลบภาพเดิม ๆ ของลูกค้าที่มีต่อสินค้าบริการในอดีตได้ค่ะ

คอมเมนต์จากคนบนโซเชียลใต้โพสต์ 7-Eleven


1.3 โปรโมทสินค้าบริการของธุรกิจ

เทรนด์จุดแข็ง-จุดอ่อนจาก Krungthai


ตัวอย่างของ Krungthai เป็นการบอกจุดอ่อนที่สอดแทรกการโปรโมทสินค้าบริการของตัวเองลงไปด้วย นั่นก็คือ การที่คุณสามารถไปขึ้นเงินรางวัลได้ที่กรุงไทย การบอกแบบนี้จะทำให้ทั้งลูกค้าเก่า และใหม่เห็นว่าที่กรุงไทยมีบริการขึ้นเงินรางวัลแบบนี้ด้วย 


ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีในการโปรโมทบริการผ่านการเล่นกับกระแส เพราะลูกค้าหรือเป้าหมายไม่ได้รู้จักสินค้าบริการของแบรนด์คุณทุกอย่าง แบรนด์เลยจำเป็นอย่างมากที่ต้องหมั่นโปรโมทให้ลูกค้าจดจำ และนึกถึงสินค้าบริการของเราอยู่เสมอค่ะ


1.4 เสนอขายสินค้าบริการให้กับลูกค้าโดยตรง

เทรนด์จุดแข็ง-จุดอ่อนจาก Jula’s Herb


ตัวอย่างสุดท้ายมาจากแบรนด์ Jula’s Herb เป็นการเล่นกับเทรนด์เพื่อบอกว่าสินค้าของแบรนด์ทั้งถูกและดี แถมยังขายดีจนหมดเกลี้ยงอีกด้วย

คอมเมนต์จากคนบนโซเชียลใต้โพสต์ Jula’s Herb


จากคอนเมนต์ก็ทำให้เห็นว่า มีลูกค้าหลายท่านที่ใช้ครีมยืนยันว่าใช้ดีจริง ๆ ซึ่งคอมเมนต์ที่มาจากผู้ใช้จริงเหล่านี้ก็คือการที่ลูกค้าของแบรนด์กลายเป็นกระบอกเสียงโปรโมทต่อไปยังคนอื่น ๆ ทำให้เวลาที่กลุ่มเป้าหมายมาเห็นรีวิวพวกนี้เขาก็จะยิ่งเชื่อว่าสินค้าดีจริง และรู้สึกอยากซื้อมาลองใช้มากกว่าเดิมค่ะ


แถมยังมีคอนเมนต์บอกให้แบรนด์ช่วยแนะนำสินค้าให้ด้วย เช่น สิวผดใช้ตัวไหนดี? กันแดดตัวไหนดี? ครีมบำรุงผิวหน้าลดริ้วรอยตัวไหนดี? แบรนด์เลยควรรีบใช้โอกาสนี้แนะนำสินค้าพร้อมปิดการขายได้เลยทันทีด้วยค่ะ               


เทคนิคการเลือกใช้เทรนด์ทำคอนเทนต์ให้ปัง

จากตัวอย่างของคอนเทนต์ติดเทรนด์ข้างบนจะเห็นได้เลยใช่ไหมคะว่า ใจความเนื้อหาของคอนเทนต์นั้นสำคัญขนาดไหน การที่แบรนด์จะคาดหวังผลลัพธ์อะไรกลับมา ต้องการจะสื่ออะไรไปหาลูกค้าก็จำเป็นต้องมีวัตถุประสงค์ และการพิจารณาถึงปัจจัยความเหมาะสมก่อนเป็นอันดับแรกค่ะ

เทคนิคการเลือกใช้เทรนด์มาทำคอนเทนต์ต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมระหว่าง ธุรกิจ-ลูกค้า-เทรนด์


3 สิ่งที่ควรสอดคล้องไปด้วยกันก็คือ “ธุรกิจ-ลูกค้า-เทรนด์

ธุรกิจ: ธุรกิจของคุณเป็นรูปแบบไหน มีสินค้าบริการอะไรบ้างที่จะไปตอบโจทย์ความต้องการหรือช่วยแก้ปัญหาให้กลุ่มเป้าหมาย รวมถึงบุคลิกของธุรกิจที่ต้องสอดคล้องไปกับเทรนด์ที่เลือก เช่น ถ้าธุรกิจเป็นบุคลิกที่จริงจัง การเล่นกับเทรนด์ที่ตลกมากเกินไปก็จะไม่สอดคล้องกับภาพลักษณ์ที่เคยมีมาค่ะ


ลูกค้า: การทำ customer persona หรือลักษณะของว่าที่ลูกค้าจะทำให้เรารู้ว่าคนที่เราต้องการจะขายสินค้าบริการให้เขาเป็นใคร มีลักษณะ บุคลิก ไลฟ์สไตล์หรือพฤติกรรมแบบไหน ธุรกิจก็จะทราบได้ว่าควรใช้เทรนด์อะไรมาเล่น ควรเลือกสินค้าบริการอะไรมาขายให้ตอบโจทย์คนกลุ่มนั้นค่ะ


เทรนด์: ก่อนจะเล่นกับเทรนด์ ธุรกิจต้องเข้าใจก่อนว่าเทรนด์นี้พูดถึงประเด็นอะไร มีความเหมาะสมกับรูปแบบธุรกิจหรือว่าที่ลูกค้าหรือไม่ รวมถึงคิดว่าจะเอาเทรนด์นี้มาเล่นในรูปแบบไหนดีค่ะ


เมื่อเลือกเทรนด์ได้แล้ว ถัดไปคือการตั้งวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของการทำคอนเทนต์ติดเทรนด์นี้ขึ้นมา ตัวอย่างเช่น


ตัวอย่างการกำหนดวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของคอนเทนต์ติดเทรนด์


ยอดการมีส่วนร่วม: อยากให้คนเข้ามามีส่วนร่วมกับโพสต์ก็ควรทำคอนเทนต์ที่ดึงดูดความสนใจ มีเนื้อหาที่สามารถเข้าถึงคนจำนวนมากได้


สามารถปิดการขาย: อยากให้คนสนใจซื้อสินค้าบริการ และสามารถปิดการขายได้ก็ควรทำคอนเทนต์ที่กระตุ้นความต้องการ ความอยากมีอยากได้ของคน เน้นถึงปัญหาที่ต้องรีบแก้รีบป้องกันก่อนจะมีผลเสียตามมา แต่อย่าลืมใส่รายละเอียดการซื้อสินค้าบริการ ช่องทางติดต่อ หรือใส่ลิงก์ไปยังหน้าสินค้าให้ครบถ้วนด้วยนะคะ


รวบรวมข้อมูลของลูกค้า: อยากได้ข้อมูลความคิดเห็นของลูกค้าที่มีต่อสินค้าบริการในเรื่องต่าง ๆ ทั้งข้อดีข้อเสียก็ควรทำคอนเทนต์ที่ทำให้คนอยากมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นกันเยอะ ๆ 


ข้อควรระวัง! ถ้าไม่อยากเกิดดราม่า

เทรนด์ก็บอกอยู่แล้วว่ามาไวไปไว เพียงแค่คลิกเดียวคนก็แชร์ได้แล้ว และทุกวันก็จะมีกระแสใหม่เกิดขึ้นตลอด ดังนั้นแบรนด์ต้องระวังในการเล่นกับเทรนด์เพื่อไม่ให้เกิดดราม่า!

ตัวอย่างของคอนเทนต์ติดเทรนด์ที่เกิดการถกเถียงกันว่ามีความเหมาะสมหรือไม่


อย่างเช่นตัวอย่างในด้านบนจะเห็นได้ว่าเป็นคอนเทนต์ติดเทรนด์ของข่าวคุณแตงโม ภัทรธิดา โดยคอนเทนต์นี้มีทั้งคนที่ชอบ เฉย ๆ และไม่ชอบ จึงเกิดเป็นการแสดงความคิดเห็นถกเถียงกันเกิดขึ้นค่ะ


ข้อควรระวังเมื่อต้องการนำเทรนด์มาทำคอนเทนต์ไม่ให้เกิดดราม่า


ถ้าแบรนด์ไหนต้องการที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดประเด็นด้านลบขึ้นมาก็จะต้องระวังในการนำเทรนด์มาใช้ ซึ่งนอกจากจะคำนึงถึง 3 ส่วน (ธุรกิจ-ลูกค้า-เทรนด์) ที่ได้พูดถึงในส่วนของเทคนิคการเลือกใช้เทรนด์ทำคอนเทนต์แล้ว แบรนด์ยังต้องคิดถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น เช่น ประเด็นอ่อนไหวต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเพศ ศาสนา เชื้อชาติ การหมิ่นประมาท สร้างความขัดแย้ง เป็นต้น


แนะนำว่าทั้งทีมควรช่วยกันตรวจดู เพราะคนรุ่นอายุต่างกัน มีประสบการณ์ต่างกันก็สามารถมองต่างมุมกันได้ค่ะ ถ้ามีเนื้อหาไม่เหมาะสมก็สามารถลองปรับคอนเทนต์ใหม่ หรือเลือกที่จะไม่โพสต์เลยเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดปัญหา แล้วไปเล่นกับเทรนด์อื่นในอนาคตที่เหมาะสมดีกว่า


ยังมีตัวอย่างของคอนเทนต์ติดเทรนด์ที่น่าติดตามต่อ สามารถเข้าไปดูเพิ่มเติมใน Facebook Live ได้ที่นี่


ติดตามเทรนด์บนโซเชียลได้ง่าย ๆ ทุกวันด้วย Mandala Cosmos

หากท่านไหนอยากติดตามเทรนด์หรือกระแสบนโซเชียลช่องทางต่าง ๆ ทุกวันแบบง่ายและรวดเร็ว แถมยังมีเทรนด์คำค้นหา (keyword) และแฮชแท็กยอดนิยมไปใส่ในคอนเทนต์ให้คนเห็นโพสต์มากขึ้น ก็สามารถไปลองใช้งานฟีเจอร์ Mandala Cosmos ได้เลย


หน้าตา Mandala Cosmos


อย่าพลาดโอกาสหาเรื่องฮิตมาทำคอนเทนต์ติดเทรนด์ รีบฉวยโอกาสในการสร้างยอดขายก่อนใคร! 

สมัครทดลองใช้ Mandala Analytics ฟรีถึง 15 วันได้เลยตอนนี้

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ plans


บทความอื่น ๆ ที่ไม่ควรพลาด:


Mandala Team

Creator

Share this post

Search the blog

Mandala Newsletter

Sign-up to receive the latest insights in to online trends