Blogs & Articles

Customer Pain Point คือ ? และโอกาสในการสร้างยอดขาย

คนมักจะเสิร์ชหาวิธีแก้ “ปัญหา” แก้ข้อสงสัยที่อยากรู้อยู่แล้วเป็นปกติ แต่จะดีกว่าไหมถ้าแบรนด์รู้ใจลูกค้าว่ากำลังมีปัญหาอะไร แล้วรีบเสนอทางแก้ไข หรือยื่นข้อเสนอขายที่จะเปลี่ยนเป็นยอดขายให้แบรนด์ได้ก่อนคู่แข่ง


เคสตัวอย่างในวันนี้จะเป็นการแนะนำวิธีค้นหาปัญหา หรือความต้องการของลูกค้าด้วยเครื่องมือ Mandala Analytics เพื่อนำไปต่อยอดทำคอนเทนต์ยื่นข้อเสนอให้ว่าที่ลูกค้า และสร้างยอดขายกลับมาได้ก่อนใครนั่นเอง




เนื้อหาในบทความ: 


ปัญหาของการขาย


ปัญหาของแบรนด์ หรือนักการตลาดที่ไม่สามารถปิดการขายได้สำเร็จ


แบรนด์ หรือนักการตลาดมักเจอกับปัญหาที่ไม่สามารถปิดการขายได้สำเร็จ ตั้งใจทำคอนเทนต์ยังไงก็ไม่ตอบโจทย์ความชอบของลูกค้าสักที ซึ่งสาเหตุนั้นอาจเป็นเพราะว่าแบรนด์ยังไม่เข้าใจปัญหา และความต้องการของลูกค้าจริง ๆ 

ทีมงาน Mandala AI ขอนำเสนออีก 1 คำศัพท์ที่นักการตลาดควรรู้ คือ Customer pain point ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้ไม่สามารถปิดการขายได้สำเร็จหากนักการตลาดสามารถแก้ไขปัญหาได้ตามที่ลูกค้าต้องการหรือตอบโจทย์ลูกค้าก็จะส่งผลให้สามารถปิดการขายได้ในอนาคต

Customer Pain point คือ ปัญหา หรือความต้องการเฉพาะที่ลูกค้าประสบอยู่ ซึ่งส่งผลเสียต่อประสบการณ์หรือความพึงพอใจที่มีต่อสินค้าหรือบริการ Pain Points เหล่านี้อาจมาจากหลายแหล่ง เช่น ปัญหาความพร้อมใช้งาน ปัญหาคุณภาพสินค้า ราคา การบริการลูกค้า หากแก้ไขปัญหาที่ลูกค้ากำลังเจอเหล่านี้สามารถสร้างโอกาสในการสร้างยอดขาย เพื่อเอาชนะคู่แข่งได้ก่อนได้

หัวใจสำคัญของการขาย


หัวใจสำคัญของการขาย คือ การเข้าใจลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของแบรนด์อย่างลึกซึ้ง

ซึ่งการที่แบรนด์จะเข้าใจลูกค้าได้นั้น แบรนด์จะต้องรู้ลักษณะของคนกลุ่มนั้น (Customer Persona) ว่าเขาเป็นใคร? มีความต้องการ หรือปัญหาอะไรบ้าง? ไปจนถึงข้อมูลเชิงลึก (Customer Insight) อย่างเรื่องความชื่นชอบ ความคิดเห็นต่าง ๆ ที่มีต่อสินค้าบริการ


การค้นหาปัญหาของลูกค้า


เคยอยากรู้ไหมคะว่า คุณจะสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับปัญหา ความต้องการ ความรู้สึกของลูกค้าจากที่ไหน?


วิธีปกติที่นักการตลาดทั่วไปมักเลือกใช้ ตัวอย่างเช่น การสัมภาษณ์, ทำ survey หรือทำ Focus Group เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกมาพัฒนากลยุทธ์ หรือออกแบบสินค้าบริการให้ตอบโจทย์ลูกค้า แต่วิธีเหล่านี้มักมีข้อจำกัดเรื่องเวลา งบประมาณ และจำนวนคนที่ต้องใช้กว่าจะได้ข้อมูลมานั่นเอง


สำหรับวิธีทางเลือกที่รวดเร็วกว่านั้นก็คือ การใช้เครื่องมือประเภท Social Listening Analytics อย่าง Mandala Analytics ที่ช่วยเก็บรวบรวมข้อมูลที่ถูกโพสต์ หรือการพูดคุยแบบสาธารณะบนโซเชียลมีเดีย และยังช่วยทำการวิเคราะห์หาข้อมูลเชิงลึกที่จะเป็นประโยชน์กับการทำธุรกิจให้แบบอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยให้แบรนด์สามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการรู้ได้แบบสะดวก และรวดเร็วตลอด 24 ชั่วโมง

 

การใช้งานเครื่องมือ Mandala Analytics จะคล้ายกับการเสิร์ชค้นหาเรื่องที่อยากรู้บน Search Engines โดยการใส่คำค้นหา หรือ keyword และระยะเวลาที่ต้องการให้ระบบเก็บข้อมูลลงไปในขั้นตอนการสร้างแคมเปญ


ข้อมูลเพิ่มเติม:

สอนสร้าง campaign สำหรับผู้ใช้งานใหม่

วิดีโอและ Tutorials สอนการใช้งาน 


หน้าแดชบอร์ดแสดงข้อมูลของแคมเปญแซลมอนดองบน Mandala Analytics


ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเป็นเจ้าของร้านแซลมอนดองที่อยากรู้ปัญหาของลูกค้า ก็สามารถใส่คำค้นหาเกี่ยวกับสินค้าว่า “แซลมอนดอง” และเลือกระยะเวลาเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1/10/2021 - 20/3/2022 เข้าไปที่หน้าแคมเปญได้เลยค่ะ


หลังจากระบบได้ทำการเก็บข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ข้อมูลบนโซเชียลก็จะแสดงขึ้นมาให้เห็นบนหน้าแดชบอร์ดดังตัวอย่างภาพด้านบน


สำรวจความคิดเห็นด้านบวกและลบบนโซเชียลมีเดียได้ที่ฟังก์ชัน Sentiment Analytics


แบรนด์สามารถใช้ฟังก์ชัน “Sentiment” เพื่อดูว่าคนบนโซเชียลมีความคิดเห็นทั้งด้านบวก และลบอย่างไรเกี่ยวกับแซลมอนดอง หรือมีความต้องการ ปัญหา ฟีดแบ็กเกี่ยวกับร้าน ข้อปรับปรุง รวมถึงสิ่งที่อยากให้ร้านแซลมอนดองมีขึ้นในอนาคต


กดเข้าไปที่แถบสีแดงในหน้าฟังก์ชัน Sentiment Analytics เพื่อดูความคิดเห็นด้านลบเกี่ยวกับแซลมอนดอง


หลังจากกดเข้าไปดูความคิดเห็นด้านลบ จะพบว่ามีลูกค้าเจอปัญหาเกี่ยวกับหนอนในแซลมอนดอง ส่งผลทำให้ลูกค้าหลายคนเริ่มไม่มั่นใจในคุณภาพอาหาร เริ่มไม่กล้ากิน หรือไม่กล้าเปิดใจลองกินร้านใหม่ ๆ นั่นเอง


ภาพหนอนในเมนูแซลมอนดองที่ลูกค้าเจอ


ดังนั้น เมื่อรับรู้ถึงปัญหาอย่างนี้แล้ว แบรนด์ก็จะสามารถทำคอนเทนต์ออกมาให้ลูกค้าที่ยังมีความกังวลได้มั่นใจว่าแซลมอนดองของร้านนั้นทั้งสด ทั้งสะอาด และใส่ใจในการทำทุกขั้นตอน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าทั้งลูกค้าใหม่ และลูกค้าเก่า เพิ่มโอกาสให้แบรนด์ปิดการขาย หรือเอาชนะคู่แข่งได้ง่ายขึ้นค่ะ


การกด Keep เพื่อเซฟข้อความเก็บไว้ดูในภายหลัง


เวลาเจอข้อความที่น่าสนใจ ก็ยังสามารถกด Keep เพื่อเซฟข้อความที่ต้องการเก็บเอาไว้ดูภายหลังได้เช่นกัน ในตัวอย่างนี้จะเป็นการกดเซฟข้อความเกี่ยวกับปัญหาของแซลมอนที่ลูกค้าเจอไว้ทั้งหมดนะคะ 


การดูข้อมูลที่เคยเซฟไว้ใน Keep จากฟังก์ชัน Mention Console


หลังจากเซฟข้อความทั้งหมดแล้ว ให้เข้าไปที่ “Mention Console” กดเลือกปุ่ม “Advance Mention Filter” แล้วคลิก Yes ที่ “Keep Mentions” จากนั้นกด Search ข้อมูล แล้วข้อมูลทั้งหมดที่เซฟเอาไว้ก็จะขึ้นมาแสดงให้ดูแล้วค่ะ


การติด Tag เพื่อแยกประเภทของข้อมูลในหน้า Mention Console


เพื่อแยกประเภทของปัญหาต่าง ๆ แบรนด์สามารถติด Tag ให้ข้อมูล ตัวอย่างเช่น โพสต์นี้เป็นเรื่องของอาหารไม่ตรงปก ก็กดสร้าง Tag ตรงคำว่า “Add Tag” พิมพ์ชื่อว่า “อาหารไม่ตรงปก” จากนั้นกด Create new tag แล้ว Tag ก็ถูกร้างก็จะติดอยู่ที่โพสต์ให้เห็นค่ะ


อีกวิธีหนึ่งที่รวดเร็วกว่า สามารถคลิกเลือกหลายโพสต์แล้วไปกด Save selected mentions as tag เลือกไปที่ชื่อ Tag ที่ได้สร้างเอาไว้แล้วก็กด Update ก็ได้เช่นกัน


การเลือกดูข้อมูลที่ถูกติด Tag ไว้จากการเลือก Filter Tag บนหน้าแดชบอร์ดของ Mandala Analytics


ทีนี้เราก็จะสามารถเปรียบเทียบได้ว่ามีปัญหาของแซลมอนดองแบบไหนที่มีมากที่สุด 

จาก Tag ที่ได้สร้างเอาไว้ เราสามารถมากดดูได้โดยเลือก Filter Tag ได้ที่หน้าแดชบอร์ดของแคมเปญ 

ข้อมูลของ Tag ที่ชื่อว่า “อาหารไม่อร่อย” แสดงการพูดถึงตามโซเชียลมีเดียต่าง ๆ และการมีส่วนร่วมของคนกับโพสต์ว่าคนกำลังสนใจปัญหานี้มากน้อยเพียงใด


หลังจากนั้นแบรนด์ก็สามารถที่จะทำการเปรียบเทียบกับข้อมูลปัญหาของแซลมอนดองอื่น ๆ ได้ เช่น เปรียบเทียบจำนวนข้อความของปัญหากับการมีส่วนร่วมกับโพสต์ระหว่าง Tag ต่าง ๆ เพื่อดูว่าปัญหาไหนที่คนสนใจมากที่สุด แล้วรีบทำคอนเทนต์ออกมาเสนอช่วยแก้ปัญหา แล้วฉวยโอกาสตรงนี้ในการสร้างยอดขายได้ค่ะ


สรุป เปลี่ยน “ปัญหา” มาเป็นโอกาสสร้างยอดขาย


สิ่งที่แบรนด์จะสามารถทำได้สำเร็จเมื่อสร้างคอนเทนต์ได้โดนใจลูกค้า


เมื่อแบรนด์เข้าใจว่าลูกค้าคือใคร เข้าใจปัญหา เข้าใจความต้องการ และความรู้สึกของคนเหล่านั้น แบรนด์ก็จะสามารถทำคอนเทนต์ออกมาได้โดนใจลูกค้ามากขึ้น 

หลังจากนี้ก็จะลดความกังวล ไม่ต้องมานั่งปวดหัวคิดวนไปว่าลูกค้าต้องการอะไรกันแน่ ช่วยทั้งเซฟเวลา เซฟการทำงานให้ง่ายขึ้น แถมยังช่วยให้เพิ่มโอกาสปิดการขายสินค้า และบริการได้มากขึ้นแซงหน้าคู่แข่งไปอีกนั่นเอง


Mandala Analytics เครื่องมือที่เจ้าของธุรกิจ, Content Creator, Youtuber และนักการตลาดหลายคนเลือกใช้ 


ทดลองใช้งาน Mandala Analytics ได้ฟรี 15 วัน 

หรือสมัครเพื่อใช้งานเต็มรูปแบบได้ที่ plans

อย่าลืมเข้าไปดูคลิปอื่น ๆ เพิ่มได้ที่ Mandala Academy


บทความอื่น ๆ ที่ไม่ควรพลาด:


Mandala Team

Creator

Share this post

Search the blog

Mandala Newsletter

Sign-up to receive the latest insights in to online trends