Blogs & Articles

หนังสั้น Save Ralph ทำคนถามหาแบรนด์ที่ Cruelty-free มากขึ้น

social listening tools

ไม่กี่วันก่อนหน้านี้เราได้เห็นกระแส Save Ralph หรือการรณรงค์ต่อต้าน Beauty Products ที่มีการทดลองกับสัตว์เป็น Social Talk Topic ไป หลังจากที่ชาว Twitter ได้นำปัญหานี้มากระจายให้คนไทยได้แชร์ต่อกันมากขึ้นจนกลายเป็นเหมือนการกดดันหลายแบรนด์ไปกลายๆ วันนี้เราจะลองมาส่องดูกันบ้างว่า แล้วแบรนด์ไหนละที่ถูกคนใน Social เมนชั่นพูดถึงเยอะที่สุดด้วยการใช้ Social Listening Tools จาก Mandala Analytics ค่ะ


อะไรคือ Save Ralph?



Ralph คือชื่อของเจ้ากระต่ายสีขาวที่อยู่ในภาพยนตร์หนังสั้นความยาวประมาณ 4 นาทีของผู้กำกับ Spencer Susser ปล่อยออนแอร์ให้คนได้ชมกันตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน 2021 (6 เมษายน 2021) ซึ่งเป็นคลิปที่ถ่ายทอดชีวิตประจำวันของกระต่ายนาม Ralph ที่ทั้งตาบอด หูดับเพราะการทำงานในโรงงานในฐานะสัตว์ทดลองสินค้า Beauty Products ของมนุษย์ที่เป็นสัตว์ประเสริฐกว่าบรรดาสัตว์ทุกชนิด ที่สุดท้ายแล้วจบด้วยประโยครณรงค์ ให้คนช่วยกัน Anti แบรนด์สินค้าความงามที่ยังทดลองในสัตว์และกันมาสนับสนุนแบบ Vegan หรือ Cruelty-free กัน



อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่า Video จะปล่อยออกมาตั้งแต่ต้นเดือนเมษาแล้ว แต่ในไทยกระแสกลับเพิ่งดัง และหากมองใน Graph ของ Social Timeline ด้วย Keywords อย่าง Save Ralph / Cruelty / ทดลองในสัตว์ และทดลองกับสัตว์ จะพบว่าเทรนด์ในไทยนั้นเริ่มขึ้นวันที่ 17 เมษายน 2021 ผ่านช่องทางสร้าง Conversation ที่ดีเยี่ยมอย่าง Twitter และพุ่งสูงสุดในวันที่ 18 เมษายนค่ะ



ซึ่งเมื่อเราเจาะเข้าไปในวันที่ 17 เมษายน เราก็เลือก Sort by ให้เป็นการเรียง Messages ตามลำดับวัน-เวลาที่เผยแพร่ แล้วเลือก Ranking เป็นแบบ Low-High หรือโพสต์นานสุดก่อน แล้วค่อยแสดงข้อความที่โพสต์เร็วสุด ก็จะพบต้นต่อ Tweet ของคุณฟอยจัง rest ที่ออกมาพูดถึงสินค้า Cruelty-free ในวันนั้นเป็นคนแรกๆ แถมมีเรทการ Retweet อยู่ที่ 1.4K ด้วย 



อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะเป็นการพูดถึง Cruelty ที่ Inspired มาจากเรื่องของ Ralph แต่เพราะ Message ของคุณฟอยจัง rest ยังไม่มีการพูดถึง Ralph ตรงๆ เราก็เลยใช้วิธีการปิดตา Keywords อื่นๆ ให้เหลือแค่ #SaveRalph ก่อนแล้วกลับมาดูต้นทางอีกครั้ง จนสุดท้ายเราพบว่าคนที่พูดถึงราล์ฟใน Twitter แรกๆ นั้นเอาเรื่องราล์ฟมาจากแพลตฟอร์ม Global Feed อย่าง TikTok อีกทีนึง ซึ่งหลังจากที่เพลินไปดูใน TikTok ก็พบว่ามีต่างชาติหลายคนมากที่ออกมาทำคลิปเกี่ยวกับราล์ฟ





และ หากเราเข้าใจ Algorithm ของติ๊กต่อก เราก็จะเข้าใจว่าการแสดงผลแบบ Global Feed ของติ๊กต่อกนั้น ไม่ได้อิงจากแค่คนที่เรา Follow แต่เป็น Sound ที่เราฟังบ่อยๆ ที่ Users ใช้กันทั่วโลกหรือเนื้อหาคอนเทนต์ที่คล้ายกันจาก Filter Effects และมันไม่ได้จำกัดแค่คนไทยที่จะเห็นแต่วิดีโอของคนไทยเท่านั้น แต่อย่างที่บอกว่ามันคละมาจากทั่วทุกมุมโลก ดังนั้นเมื่อในต่างประเทศกระแสราล์ฟเริ่มดังพอเข้ามาอยู่ใน TikTok เลยเกิดเป็น Globalization ง่ายๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งปัจจุบันมีคนชมคลิปภายใต้ #SaveRalph บนติ๊กต่อกไปแล้ว 326.3 Million Views ค่ะ


อย่างไรก็ตาม ต้องบอกว่าเพราะเครื่องมือ Social Listening ทุกตัวยังไม่มีใครแสดงผลจาก TikTok ได้ ทำให้แพลตฟอร์มต้นทางหายไป ถึงอย่างนั้นจะเห็นได้ว่า Twitter เนี่ยแหละเป็นช่องทางปั่น Conversation ชั้นดีของคนไทย เหมือนว่าถึงแม้ว่าเรื่องนี้จะมาจากติ๊กต่อกแต่มาถูกปั่นกระแสจนเป็น Social Topic ผ่าน Twitter อีกทีสำหรับคนไทยนั่นเองค่ะ ซึ่งภายในคืนเดียวเรื่องนี้ใน Twitter ก็พุ่งตั้งแต่เวลา 4 ทุ่มลามไปเรื่อยๆ ยาวไปวันที่ 18 แทบจะทั้งวัน แต่พีคสุดคือช่วง 13:00 PM ค่ะ


แบรนด์ความงามยี่ห้อไหนถูกพูดถึงเยอะสุด?


จริงๆ หากเราอยากรู้ว่าแบรนด์ไหนถูกพูดถึงเยอะสุด เราสามารถใช้ชื่อแบรนด์เป็น Main keywords ได้ แต่หลักการนั้นจะทำให้ข้อมูลที่ได้มากว้างเกินไปจากแค่โปรเจคเซฟราล์ฟ เพราะในวันเดียวกันนั้น คนอาจจะพูดถึงชื่อแบรนด์นึงในบริบทอื่นๆ ได้ด้วย เช่น รีวิวสินค้าทั่วไป หรือการบ่นอยากได้ เป็นต้น อีกประเด็นที่วิธีนี้ไม่เวิร์คก็เพราะการที่เราต้องเอาชื่อแบรนด์ทั่วไปทั้งหมดใส่เข้าไปใน Tools ซึ่งเราไม่มีทางจะรู้จักชื่อแบรนด์ทั้งหมดแน่นอน ดังนั้น Keywords หลักที่เพลินแนะนำยังคงเป็นในส่วนของบริบทเซฟราล์ฟ แล้วหลังจากนั้นเราจะทำการส่อง Cloud Words และ Hashtag Clouds ดูว่ามีชื่อแบรนด์ไหนที่คนพูดถึงย้ำๆ ซ้ำๆ จนก้อน clouds ใหญ่สุดกันบ้างค่ะ



Clouds และ Hashtag clouds ที่เพลินเอามาจะเป็น Clouds จากรายวันก่อนนั่นก็คือข้อมูลในวันที่ 17 และ 18 เมษายน ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าแบรนด์เดียวที่ติด Clouds ในทั้ง 2 วันเลยก็คือแบรนด์ Yves Rocher ที่เป็นแบรนด์ฮิตสำหรับชาวทวิตอยู่แล้ว นอกจากนั้นใน Hashtag clouds ของวันที่ 18 แบรนด์ที่โผล่เข้ามาเพิ่มก็คือแบรนด์ MizuMi ที่ขยับตัวเร็ว รีบออกมาประกาศว่าแบรนด์ของตัวเองนั้นไม่ได้มีขั้นตอนทดลองกับสัตว์เลย 


ทั้งนี้จาก Clouds ด้านบนเป็นเพียงข้อมูลจากช่องทาง Twitter ใน 2 วันเพียงเท่านั้น ต่อไปเราจะไปส่อง Clouds ของ Overall Keywords ทั้งหมดจากทุกช่องทางกันค่ะว่ามีแบรนด์ไหนที่ออกมาชี้แจ้งเกี่ยวกับตัวเองเพิ่มเติม หรือมีคนถามถึงเยอะๆ บ้าง ซึ่งจากภาพ Clouds จะเห็นได้ว่า คนใช้คำว่า ‘แบรนด์’ สูงที่สุด เนื่องจากเป็นการเมนชั่นถาม กล่าวถึง ‘แบรนด์’ที่ไม่มีหรือมีการทดลองในสัตว์ ซึ่งหลังจากนั้นจะมีเว็บขององค์กร https://crueltyfree.peta.org ที่คนจะเข้าไปพิมพ์ชื่อแบรนด์เพื่อหาอีกทีว่าแบรนด์ที่ตัวเองใช้หรือสนใจอยู่นั้น มีการทำการทดลองในสัตว์อยู่ในปัจจุบันหรือไม่ ทำให้ตัว Social Listening Tools ไม่สามารถเข้าไปเก็บข้อมูลชื่อแบรนด์ที่ถูกคนค้นหามากที่สุดได้ค่ะ


อย่างไรก็ตามหากดูจาก Clouds ทั้งหมดแล้วแบรนด์ Anacolly ที่เป็นคอลลาเจน รวมไปถึงแบรนด์เล็ก แบรนด์น้อยอย่าง Dear Dahlia / UZ Vegan / Jelly Mask Up และอื่นๆ ที่ต่างก็ออกมาประกาศจุดยืนว่าแบรนด์ของพวกเค้านั้นไม่มีการทดลองกับสัตว์แบบมีใบรับรอง หรือมีโลโก้กระต่ายแปะไว้ที่ผลิตภัณฑ์ด้วยนั่นเองค่ะ  และเพราะว่ายังมีอีกหลายๆ แบรนด์ในไทยหรือเอเชียที่ยังไม่ได้ถูก Record เก็บไว้ในเว็บของ Peta ทำให้ชาวทวิตหลายๆ คนเริ่มทำการบ้านและรวมชื่อแบรนด์ที่ ‘มีการทำการทดลองกับสัตว์’ และ ‘ไม่มีการทำการทดลองกับสัตว์’ เอาไว้เป็นภาพด้วย ใครที่อยากรู้ว่ามีแบรนด์อะไรบ้างสามารถเข้าไปดูได้ที่นี่เลยค่ะ



ส่วนแบรนด์ไหนที่เห็นว่าคนเข้าใจผิดหรือกระจายข่าวแบบผิดๆ หรือกำลังดำเนินการทำให้มัน Cruelty-free 100% อย่างของ Case แบรนด์ Yves Rocher ก็อย่าลืมหาทางแก้ข่าวก่อนจะสายนะคะ รวมไปถึงแบรนด์ที่กำลังทำการทดลองกับสัตว์อยู่ อาจจะต้องเริ่มหาทางออกเพิ่มเติม เพราะในยุคที่ผู้บริโภคตื่นตัวมากขึ้น ใส่ใจสังคม ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แถมการแพร่กระจายข่าวไปไกลได้เร็วและง่ายแบบนี้ ยิ่งต้องเริ่มใส่ใจ ลงมือ Take Action อะไรบางอย่างเพิ่มขึ้นด้วยค่ะ


ทั้งหมดนี้ก็คือ Social Data เรื่องของ Save Ralph ที่เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 17-18 ที่ผ่านมา ถึงแม้กระแสจะเริ่มซาลง แต่เราเชื่อว่าภาพจำยังคงอยู่ในหัวของผู้บริโภคเรื่อยๆ ยิ่งมีเรื่องของสัญลักษณ์ที่ตรวจสอบได้จาก Peta แล้ว ยังไงก็อาจจะกระทบกับ Decision-making ของลูกค้าในอนาคตอยู่ดี


สิ่งนึงที่น่ากลัวและอยากให้แบรนด์ทั้งหมดตระหนักไว้คือความเร็วของข้อมูลจากมุมนึงสู่อีกมุมนึงของโลกผ่าน Social Media ต่างๆ อย่างโครงการนี้ที่ดังจากต่างประเทศแล้วค่อยๆ คืบคลานเข้าไทยอย่างรวดเร็วผ่าน TikTok และ Twitter ดังนั้นการ Monitor สื่อโซเชียลและการ Take Action หรือ Respond ในช่วง Crisis จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมากในวันนี้ ส่วนแบรนด์ไหนที่สนใจอยากมี Social Listening Tools ติดไว้สำหรับการรับฟังเสียงผู้บริโภค รวมไปถึงการ Monitor Voices บนโซเชียล สามารถ Inbox หาเราเพื่อปรึกษารายละเอียดได้เลยนะคะ


Subscribe เครื่องมือ Social Listening Tools แล้วดียังไง ใช้เครื่องมือทำอะไรได้อีกบ้าง?


สามารถทดลองใช้ Mandala Analytics ได้ที่นี่


ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณ Praparat Wisetwongchai เพจการตลาดวันละตอน

Mandala Team

Creator

Share this post

Search the blog

Mandala Newsletter

Sign-up to receive the latest insights in to online trends