Blogs & Articles

ใช้ Social Listening Tool ดูว่า surfskate ฮิตเพราะใคร?

social listening tools

สวัสดีครับกลับมาพบกับสาระดี ๆ จากทางทีม Mandala Analytics อีกเช่นเคยนะครับ วันนี้ผมจะพาผู้อ่านทุกคนมาส่องเทรนด์กิจกรรมกลางแจ้งที่ผมคิดว่าคงเคยผ่านตากันมาบ้างอย่าง surfskate ครับ อยากสารภาพตรง ๆ ว่าก่อนเขียนบทความนี้ ผมเข้าใจผิดมาตลอดว่า surfskate ก็คือ skateboard ดี ๆ นี่เอง ปรากฏว่าไม่ใช่ซะงั้น ยิ่งเป็นแรงบันดาลใจในการเขียนบทความนี้เข้าไปใหญ่เลยครับว่าผมต้องรู้อะไรจากเจ้า surfskate นี้อีกมาก เพื่อไม่ให้บทความยาวเกินไปเรามาดูกันครับ ว่ามีข้อมูลอะไรที่น่าสนใจกันบ้าง


ใช้ Google Trends จับกระแส surfskate 

แม้ผมจะเห็นเจ้าแผ่นบอร์ดแล่นผ่านตาบน Facebook มาซักระยะหนึ่ง แต่เอาจริง ๆ แล้วผมเองก็จับต้นชนปลายไม่ถูกครับว่ากระแส surfskate นี่เริ่มขึ้นตอนไหนกันแน่ และเพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลา หรือ timeframe ที่จะตั้งในการเก็บข้อมูลบน Mandala Analytics จำเป็นต้องมีตัวช่วยอื่น ๆ ที่สร้างความมั่นใจครับว่า ควรตั้งช่วงวันประมาณไหนดี ถึงจะเหมาะสมในการเก็บข้อมูล ผมจึงเลือกใช้ Google Trends ในการช่วยแก้ปัญหาตรงนี้ครับมาดูกันว่ากระแสเริ่มเกิดขึ้นตอนไหน

 

ค้นหาวันที่ 18 ก.พ. 64


ตามภาพข้างบนผมลองกำหนดช่วงเวลาคร่าว ๆ เองก่อนครับว่าน่าจะเกิดกระแสประมาณช่วงไหน จะเห็นว่ากระแสมาพีคจริง ๆ ช่วงสิ้นปี แล้วสูงสุดวันที่ 31 ม.ค. 64 แสดงว่าในช่วงเวลาดังกล่าวต้องมีอะไรบ้างที่กระตุ้นกระแสนี้ขึ้นมา จาก data ที่ได้จึงเพียงพอที่จะตัดสินใจได้ว่าจะตั้ง timeframe ให้ Mandala Analytics เก็บ data ในช่วงวันที่ 1 ธ.ค. 63 – 31 ม.ค. 64 ครับ


การหากระแส surfskate ด้วย Social Listening Tool

    ก่อนอื่นเลย ขั้นตอนสำคัญที่สุดอย่างที่ผมได้เคยบอกไว้ในบทความก่อนหน้าว่าคีย์เวิร์ดนั้นสำคัญที่สุดครับ โดยบทความนี้ผมใส่แบบกว้าง ๆ ตามนี้เลยครับ


สำหรับเทคนิคการใส่คีย์เวิร์ดอ่านได้จากบทความนี้: blog/th/140/social-listening-tools-11022021

 


จากภาพข้างต้น จะเห็นว่าการตั้ง campaign นั้นผมใส่คำว่า “surfskate” และ “เซิร์ฟสเก็ต” ครับ   แต่การที่เรามีภาษาอังกฤษติดมาด้วย และเพื่อป้องกันไม่ให้การทำงานของเรายุ่งยากจากการติด mention ที่ไม่ใช่แค่ภาษาไทยมาด้วย ผมจึงใช้ function ที่ชื่อว่า Focus Languages ครับ โดยระบุให้ Mandala Analytics ทำการเก็บ data ที่มีแต่ภาษาไทยครับ


แล้ว surfskate ฮิตเพราะใคร?

มาถึงส่วนสำคัญของบทความนี้ครับเรามาดูกันว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง

จากภาพนี้ผมปรับ aspect ให้แสดงค่า mentions ครับจะเห็นว่า data ค่อนข้างสอดคล้องกับ Google Trends พอสมควร คือเริ่มเป็นกระแสช่วงปลายปี 63 แล้วมาฮิตสุดขีดอยู่ที่ช่วงปลายเดือน ม.ค. 64 กลับไปที่กราฟจาก Google Trends ที่ผมได้แสดงไปก่อนหน้าว่า กระแสเริ่มตื่นตัวช่วงต้นเดือน ธ.ค. 63 และขณะเดียวกันกระแสพุ่งขึ้นสูงสุดวันที่ 31 ม.ค. 64 แสดงว่าก่อนหน้านั้นทั้ง 2 ช่วงต้องเกิดกระแสจาก influencers ไม่คนใดก็คนหนึ่ง ที่ทำให้ surfskate กลายเป็นกระแสขึ้นมา โดยกราฟถัดไปผมจะปรับค่า aspect เป็น engagement เพื่อดูว่ากระแสนั้นเริ่มจากใครกันแน่





แม้ data จาก Google Trends จะแสดงให้เห็นว่ากระแสเริ่มตื่นตัวช่วงต้นเดือน ธ.ค. 63 แต่ data ที่ได้จาก Mandala Analytics นั้นแสดงให้เราเห็นว่า กระแสมีความต่อเนื่องในช่วงปลายเดือน ม.ค. 64 เสียมากกว่า อย่างไรก็ตาม ความน่าสนใจคือวันที่ 23 ธ.ค. 63 นั้นเกิดอะไรขึ้น ทำไมค่า engagement ถึงสูงได้ขนาดนั้น แล้วจะเป็นต้นตอสำคัญในการทำให้ surfskate เป็นกระแสหรือไม่ เรามาหาคำตอบกันครับ

ดูโพสต์ต้นฉบับได้ที่ https://www.instagram.com/p/CJISpeEFlDl/


เริ่มที่โพสต์วันที่ 23 ธ.ค. 63 นั้นมาจาก Instagram ของคุณเต้ย จรินทร์พร โดยโพสต์นี้มี engagement กว่า 76,615 ซึ่งโพสต์นี้ เจ้าตัวได้บรรยายความรู้สึกที่มีต่อปีที่ผ่านมา และก่อนที่จะปลีกวิเวกไปทำกิจกรรมต่าง ๆ 10 วันเพื่อพักผ่อนนั้น หนึ่งในกิจกรรมดังกล่าวคือการเล่น surfskate นั่นเอง ผมได้เข้าไปอ่านความเห็นของโพสต์ดังกล่าว พบว่า ส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสนใจไปที่ surfskate เท่าไหร่นัก แต่ส่วนใหญ่เป็นคำชมเสียมากกว่า แสดงว่าโพสต์ของคุณเต้ยนั้นไม่ใช่ตัวจุดกระแส surfskate ในไทยนั่นเอง


ถ้าเช่นนั้นแล้วโพสต์จากใครกันแน่ที่จุดไฟให้ surfskate เป็นกระแสขึ้นมา? ผมคิดว่าคำตอบอยู่ที่ data จาก Google Trends และ Mandala Analytics ที่สอดคล้องตรงกันว่าช่วงเดือน ม.ค. 64 ต่างหากที่เป็นกระแสจริง ๆ ของ surfskate ดังนั้นเราจะมาพิจารณากันครับว่ามาจากโพสต์ของใครกันแน่ 

 

ดูโพสต้นฉบับได้ที่ https://www.instagram.com/p/CKXyR6EjHke/


จากภาพเป็นโพสต์จากคุณโจอี้บอยเมื่อวันที่ 23 ม.ค. 64 ครับผมคิดว่านี่เป็นจุดเริ่มสำคัญของกระแส surfskate แม้ว่า engagement จากโพสต์นี้อยู่ที่ 42,898 ซึ่งน้อยกว่าโพสต์ของคุณเต้ยเกือบครึ่ง แต่จากที่ได้เข้าไปอ่านความเห็นพบว่า มีคนสนใจเล่น surfskate เป็นจำนวนหนึ่งจากโพสต์นี้ เนื่องด้วยความเท่ และภาพที่คุณโจอี้บอยนำเสนอออกมานั้นก็ดึงดูดมากพอที่จะให้หลาย ๆ คนสนใจ surfskate ขึ้นมา


อีกหลักฐานหนึ่งที่ผมยืนยันได้ว่าคุณโจอี้บอยเป็นผู้จุดกระแส surfskate เพราะมีหลายคนเข้ามาถามวิธีการเล่นเป็นจำนวนมากจนเจ้าตัวต้องออกมาโพสต์วิธีการเล่นเลยทีเดียว โดยโพสต์ดังกล่าวเองก็มีค่า engagement ไม่น้อยเช่นกัน ซึ่งอยู่ที่ 22,819

ดูโพสต์ต้นฉบับได้ที่ https://www.instagram.com/p/CKg9zJFj5OG/


จากจุดเริ่มต้นของคุณโจอี้บอยทำให้เกิด content เกี่ยวกับ surfskate ออกมาแบบไม่ปล่อยให้กระแสเงียบหาย โดยโพสต์ถัดไปผมคิดว่ายิ่งเป็นการโหมกระแสให้ดังขึ้นไปอีก


ดูโพสต์ต้นฉบับได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=fdjtidyHn1k


จากภาพคือการตอบรับกระแส surfskate ต่อทันทีโดยไม่ปล่อยให้เงียบเหงาลง จากค่า engagement กว่า 96,406 โดยโพสต์จากคุณมอสลาได้พาเราไปดูร้านบอร์ดประเภทต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา แม้กิจกรรมกลางแจ้งประเภทนี้จะเริ่มฮิตที่ญี่ปุ่น แต่คุณมอสลาเองก็แสดงให้เห็นว่าฝั่งตะวันตกเองก็สนใจกิจกรรมแบบนี้เหมือนกัน นอกจากนี้ คุณมอสลายังพาเราไปเห็นบอร์ดลวดลายต่าง ๆ จนอดไม่ได้ที่จะอยากซื้อหามาครอบครองซักแผ่น


ผมคิดว่าโพสต์จากคุณโจอี้บอย และคุณมอสลาเป็นจุดเริ่มสำคัญในการเล่น surfskate ของคนไทย และเมื่อกระแสเริ่มมาเรื่อย ๆ เราจะเห็นบุคคลมีชื่อเสียงออกมาเล่นกันมากขึ้น หรือแม้กระทั่งการออกมาล้อเลียนกระแสดังกล่าวของเหล่าคนดังเช่นกัน โดยมีตัวอย่างให้เห็นดังนี้

ดูโพสต์ต้นฉบับได้ที่ https://www.instagram.com/p/CKlJ0EIsiAk/


โพสต์จากคุณเต๋า เศรษฐพงศ์ เป็นตัวอย่างของบุคคลมีชื่อเสียงที่ออกมาตอบรับกับกระแส surfskate ซึ่งโพสต์ดังกล่าวมีค่า engagement กว่า 19,282 แต่ใช่ว่าจะมีแต่กระแสที่เล่นจริงจังนะครับ เพราะเราก็จะเห็นกระแสล้อเลียนเช่นเดียวกันครับ


ดูโพสต์ต้นฉบับได้ที่ https://www.instagram.com/p/CKsqPuNhPvn/


โพสต์ของคุณกมลเนตรเป็นตัวอย่างของดาราที่ออกมาล้อเลียนกับกระแสของ surfskate ครับ จะเห็นว่าโพสต์ของเธอนั้นมีค่า engagement กว่า 40,523 เลยทีเดียว 

    

สรุป surfskate ฮิตเพราะใคร?

การใช้ Google Trends + Mandala Analytics ทำให้เห็นว่า surfskate เริ่มเข้ามาอยู่ในบทสนทนาของคนไทยจากโพสต์ของคุณเต้ย จรินทร์พร แต่นั่นไม่อาจทำให้กระแสโหมกระพืออย่างต่อเนื่องมากนัก เพราะเราจะเห็นว่ากราฟมีการแหว่งหายหรือทิ้งช่วงไปพอสมควร โดยกระแสกลับมาอีกครั้งจากคุณโจอี้บอย และตอบรับด้วยเหล่าคนดังที่ออกมาเล่น surfskate รวมถึงออกมาล้อเลียนด้วยการใช้โต๊ะรีดผ้าแทน surfskate


นอกจากนี้ข้อสังเกตหนึ่งของกระแส surfskate คือมาจาก Instagram แทบทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการลบภาพไปสิ้นเชิงว่า กระแสต่าง ๆ ส่วนใหญ่ล้วนต้องมาจาก Facebook แต่กระแสของ surfskate ก็พิสูจน์ให้เราเห็นแล้วว่า แพลตฟอร์มนั้นไม่สำคัญเท่ากับเนื้อหา และผู้ส่งสารครับ


หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อย แล้วพบกันในบทความถัดไปครับ



อ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://www.mandalasystem.com/blog

Mandala Team

Creator

Share this post

Search the blog

Mandala Newsletter

Sign-up to receive the latest insights in to online trends