Blogs & Articles

เคล็ดลับสร้าง Video Content ให้ปัง!

social listening tools

นาทีนี้การทำ Content ให้ปังและโดนใจชาวโลกออนไลน์คงหนีไม่พ้น “Video Content” ซึ่งมีให้เห็นกันอยู่ในเกือบทุก Platform เพราะอะไร แบรนด์และธุรกิจต่าง ๆ จึงหันมาทำ Video Content ? นั่นเป็นเพราะ การทำ Content ดังกล่าวสามารถช่วยเพิ่ม Organic Reach และสร้างความประทับใจให้กับกลุ่มผู้รับชมได้  


แต่การสร้าง Video Content ให้โดนใจกลับไม่ใช่เรื่องง่าย  แล้วเราจะทำอย่างไรให้ Video Content ของเราออกมาโดนคน (หัวใจ) รุ่นใหม่ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของเราได้  วันนี้ Mandala Analytics มีเคล็ดลับจากการนำ Social Listening Tools มาใช้งานเพื่อให้เกิดการสร้าง Video Content ที่ปัง ๆ

social listening tools

จากการฟังเสียง  ต่อยอดสู่ “Video Content”

Social Listening Tools หากแปลให้ตรงตัวก็คือ “เครื่องมือสำหรับการฟังเสียงของสังคม” และเมื่อมันมาอยู่ในบริบทของโลกออนไลน์ มันก็จะเปรียบได้กับเครื่องมือที่ใช้สำหรับช่วยในการรับฟังเสียงของผู้บริโภคบนสื่อสังคมออนไลน์ ใน Platform ต่าง ๆ เช่น Facebook, Twitter , Instagram , YouTube อื่น ๆ และการใช้ Social Listening Tools ให้เกิดประโยชน์ในการสร้าง  Video Content สามารถทำได้ ดังนี้


1.    สำรวจกลุ่มเป้าหมาย

เริ่มต้นการใช้ Social Listening Tools ควรสำรวจกลุ่มผู้บริโภคของแบรนด์  ว่ามีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องอะไร ชอบการนำเสนอ Video Content ในรูปแบบไหน ตัวอย่างเช่น การนำเสนอแบบให้สาระข้อมูลเชิงความรู้ หรือการนำเสนอแบบสนุกสนาน  และเมื่อทราบแล้วว่ากลุ่มลูกค้าของแบรนด์ชื่นชอบ Video Content ประเภทใด ก็สามารถพัฒนา ต่อยอดทำ  Video Content  ของแบรนด์ได้ตรงจริตผู้ชมครั้งถัดไปมากยิ่งขึ้น 


2.    จับกระแสสังคมออนไลน์

แน่นอนว่า การรู้ประเด็นหัวข้อที่เป็นกระแส คือความได้เปรียบของแบรนด์  และการใช้ Social Listening Tools เองก็ช่วยให้เราสามารถรู้ได้ว่า  ประเด็นอะไรตอนนี้ที่กำลังเป็นกระแสถูกพูดถึงอยู่ในกลุ่มผู้บริโภค หรือแบรนด์ของเรากำลังถูกพูดถึงในลักษณะใด  การจับกระแสสังคมได้ทันช่วยให้แบรนด์รู้แนวทางการสร้าง Video Content ให้ถูกใจยิ่งขึ้น  รวมถึง สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ทันทีในช่วงเวลาที่แบรนด์ตกอยู่ในช่วง Social Crisis (วิกฤตบนโลกโซเชียล) 


3.    เวลาไหนที่ควรโพสต์

ช่วงเวลาในการโพสต์ Video Content  จัดเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่ไม่ควรละเลย  เพราะการรับรู้ช่วงเวลาการโพสต์  ก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดของ Video Content  ช่วยเพิ่มโอกาสให้แบรนด์ได้รับความสนใจ  และเกิดการบอกต่อมากขึ้น  ซึ่งหากแบรนด์โพสต์ในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม ก็อาจจะทำให้ Video Content ไม่ได้รับความนิยมตามที่คาดการณ์ เช่น ถ้าเราเอาการ์ตูนสำหรับเด็กไปฉายตอนตีสาม คุณคิดว่าจะมีเด็กสักกี่คนที่จะได้รับชมการ์ตูน ? 


4.    อินฟลูเอนเซอร์มาแรง

การทำการตลาดออนไลน์แต่ละครั้งต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก และกลยุทธ์ที่รอบด้านเพื่อสู้รบในสนาม  และการจับ Data ที่เป็นกระแสได้ไว  นับเป็นข้อได้เปรียบ  และการทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักเพียงการใช้สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์วันนี้อาจไม่เพียงพอต่อไป  บางครั้งแบรนด์อาจจำเป็นต้องยืมมือผู้มีอิทธิพลบนโลกออนไลน์ ที่เรียกกันว่า “อินฟลูเอนเซอร์” มาช่วยโน้มน้าวใจ และนำไปสู่การซื้อสินค้า  ดังนั้นการนำ Social Listening Tools มาช่วยจับความนิยมอินฟลูเอนเซอร์ จึงเป็นสิ่งที่

แบรนด์ไม่ควรมองข้าม


5.    เลือก Platform ถูก ได้เปรียบคู่แข่ง

โลกออนไลน์ เต็มไปด้วย Platform มากมาย  ไม่ว่าจะเป็น Facebook , Twitter , Instagram , YouTube อื่น ๆ ซึ่งแต่ละ Platform นั้น  ก็มีกลุ่มผู้ใช้งานแต่ละประเภทต่างกัน หากแบรนด์ไม่เข้าใจความแตกต่างของ Platform แต่ละประเภทให้ถ่องแท้ และโพสต์ Video Content  ลงไปโดยที่ไม่ได้รับความสนใจก็อาจจะทำให้ Video Content  ที่ทำมาเสียเปล่า  และไม่ได้รับความนิยมหรือถูกกล่าวถึง 

social listening tools

และนั่นคงเป็นเรื่องน่าเสียดายไม่น้อยหาก Video Content  ที่แบรนดอุตส่าห์ทุ่มเงิน ทุ่มเวลาลงไปล้มเหลว  ดังนั้น Mandala Analytics ขอแนะนำให้ใช้เครื่องมือ Social Listening Tools ที่เปิดให้ทดลองใช้ฟรีที่ https://www.mandalasystem.com/free_trial เพื่อรับประกันความเสี่ยงดีกว่า!

Mandala Team

Creator

Share this post

Search the blog

Mandala Newsletter

Sign-up to receive the latest insights in to online trends